ประเด็นเรื่องเขื่อน และ #แม่น้ำโขง กลายมาเป็นที่ถกเถียงอีกครั้ง หลังจากที่เพจสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย กับเพจสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยให้ข้อมูลแตกต่างกัน

The MATTER ขอสรุปให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
เพจสถานทูตจีนฯ ได้ออกมาโพสต์ถึงเขื่อน และแม่น้ำโขงแล้วถึง 4 โพสต์ 4 ความคิดเห็น ได้แก่

1) การสร้างเขื่อนจะทำให้น้ำเยอะขึ้นในหน้าฝนและน้อยลงในหน้าแล้ง เป็นต้นเหตุที่แม่น้ำโขงตอนล่างเกิดน้ำท่วมและภัยแล้งบ่อยครั้ง

2) เขื่อนในแม่น้ำล้านช้างทำให้ตอนล่างยิ่งแล้งขึ้น ควรรื้อถอนออกไป
3) สถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันเกิดจากการกักเก็บน้ำของเขื่อนในแม่น้ำล้านช้าง

4) เขื่อนในแม่น้ำล้านช้างควรปล่อยน้ำมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งภาคอีสานของไทย
โดยข้อมูลของสถานทูตอธิบายว่า โครงการชลประทานก็เป็นธนาคารของแม่น้ำ หน้าฝนเก็บน้ำ หน้าแล้งปล่อยน้ำ เป็นหลักประกันที่ขาดมิได้ในการรับมือกับน้ำท่วมหรือภัยแล้ง

พร้อมยกตัวอย่างประเทศสวีเดน นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ที่มีโครงการชลประทานในแม่น้ำมากกว่า 90%
ในขณะที่ สหรัฐฯ มีอ่างเก็บน้ำ 84,000 แห่ง แม่น้ำ 96% ได้สร้างเขื่อน โดยแม่น้ำมิสซิสซิปปีโดดเด่นที่สุด ทั้งสหรัฐฯ ยังได้ลงทุนสร้างเขื่อนในต้นน้ำที่แคนาดา เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในแม่น้ำโคลัมเบียตอนล่าง และการพัฒนาโครงการชลประทานในแม่น้ำโขง ยังน้อยกว่าสหรัฐฯ และในยุโรปมาก
นอกจากนี้ จีนได้บริหารจัดการพิเศษ ให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงจากแม่น้ำล้านช้างมากกว่า 2 เท่าตัวของน้ำที่ไหลเข้าโครงการ ทั้งชลประทานในแม่น้ำล้านช้างมีบทบาทในการเพิ่มปริมาณน้ำในหน้าแล้ง แถมปริมาณน้ำที่ไหลลงมาไม่ได้ลดลงแต่เพิ่มขึ้น
รวมถึงรายงานล่าสุดจากคณะกรรมการแม่น้ำโขงยังระบุว่า หน้าแล้งปี 2019 และ ปี 2020 ปริมาณน้ำมาจากแม่น้ำล้านช้างมากกว่าช่วงหน้าแล้งปีก่อนๆ
พร้อมให้ข้อมูลจากคณะกรรมการแม่น้ำโขงที่ระบุว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 เป็นต้นมา ลุ่มแม่น้ำโขงพื้นที่ส่วนใหญ่เกิดความแห้งแล้งและฝนน้อยอย่างต่อเนื่อง
โดยสาเหตุหลักของความแห้งแล้งในแม่น้ำโขง มาจากปริมาณน้ำฝนน้อยในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และสาเหตุที่ทำระดับน้ำที่เวียงจันทน์แม่น้ำโขงตอนกลางในปี 2019 และปี 2020 ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ คือน้ำฝนลดลง
ในโพสต์สุดท้าย ได้ชี้แจงว่า เขื่อนจีนจะมีบทบาทน้อยลงในการปรับระดับน้ำตั้งแต่เวียงจันทน์ลงไป ทั้งภาคอีสานอยู่ห่างไกลจากจีน อย่างจังหวัดเลยซึ่งอยู่ใกล้ที่สุดกับจีนห่างจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจิ่งหงประมาณ 900 กิโลเมตร
จึงไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในการเดินทางระยะทาง 900 กิโลเมตร รวมถึงการที่น้ำเพิ่มจากแม่น้ำล้านช้างมีผลเฉพาะต่อสายหลักของแม่น้ำโขง แต่มีผลน้อยมากต่อแม่น้ำส่วนใหญ่ในภาคอีสาน
สุดท้ายแล้ว ยังชี้แจงว่า ปัจจุปัน ประเทศลาว ไทย กัมพูชา เวียดนามต่างสร้างโครงการชลประทานในสายหลักและสายย่อยของแม่น้ำโขง ปริมาณน้ำที่กักเก็บมากกว่าเขื่อนที่สร้างในแม่น้ำล้านช้าง เมื่อลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเกิดภัยแล้งหรือน้ำท่วม ประเทศใดประเทศเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งระบบได้
ด้านสถานทูตสหรัฐฯ ได้โพสต์ถึงบทความแสดงความคิดเห็นโดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี ในชื่อ ‘รักษ์แม่โขง: สายโลหิตทางเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงทั้งภูมิภาค’
โพสต์ของสหรัฐฯ ชี้แจงความเห็นว่า แม่น้ำโขงไม่ใช่สมบัติของประเทศใดประเทศหนึ่ง แม่น้ำโขงไหลผ่านจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ได้เห็นว่า ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่างประสบภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบทศวรรษ
แม้ว่าภัยดังกล่าวอาจเกิดจากหลายปัจจัย แต่การศึกษาแสดงให้เห็นว่า แม่น้ำโขงเผชิญกับการสร้างเขื่อนจำนวนมากที่ตอนบน ทั้งยังชี้ว่า ตามข้อมูลจากดาวเทียมบ่งชี้ว่าปริมาณน้ำบริเวณต้นน้ำในจีนมีอยู่เหลือเฟือ ทำให้เกิดข้อกังขา รวมทั้งคำถามว่าเหตุใดจึงไม่มีน้ำในปริมาณที่มากกว่านี้ไหลมาจากจีน
ความเห็นของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ยังสนับสนุนความพยายามของประชาชนและรัฐบาลไทย ที่สั่งให้หยุดแผนการระเบิดแก่งและขุดลอกแม่น้ำโขงบางส่วนที่ฝั่งชายแดนไทย และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการบริหารจัดการเขื่อนตามแนวแม่น้ำโขง
รวมถึงได้พูดถึงการอ้างของจีน ที่ออกไปลาดตระเวนลุ่มน้ำโขงนอกอาณาเขตของตน ในลาวและเมียนมานั้น เพื่อการปราบปรามขบวนการอาชญากรรม แต่จีนกลับยังไม่สามารถยับยั้งได้
สหรัฐฯ ยังได้พูดถึงการช่วยเหลือโครงการต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งเงินทุน และการร่วมมือต่างๆ และสุดท้าย ยังได้ย้ำถึง มิตรภาพ 200 ปี ระหว่างไทย และสหรัฐฯ ด้วย
You can follow @thematterco.
Tip: mention @twtextapp on a Twitter thread with the keyword “unroll” to get a link to it.

Latest Threads Unrolled: